
คณิต ม.4 ม.5 ม.6 เรียนเรื่องอะไรบ้าง
มิถุนายน 30, 2025
สวัสดีค้าบบ^^ ในบทความนี้พี่แม็คได้รวบรวมเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.ปลายที่น้อง ๆ จะได้เรียนตั้งแต่ระดับชั้น ม.4 ม.5 ม.6 ของวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานและคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ตามหลักสูตรของ สสวท. มาให้น้อง ๆ ได้เตรียมตัวเก็บคะแนนในชั้นเรียน นอกจากนี้ พี่แม็คได้สรุปเนื้อหาแต่ละบทอย่างละเอียด กระชับ และเข้าใจได้ง่าย น้อง ๆ สามารถติดตามได้ที่ท้ายบทความนี้!! ถ้าพร้อมแล้วไปเริ่มกันเลยค้าบบ
คณิตศาสตร์ ม.4

คณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.4
บทที่ 1 เซต
- เซต การเขียนเซต
- การเท่ากันของเซต
- การเป็นสับเซต และพาวเวอร์เซต
- แผนภาพเวนน์
- การดำเนินการของเซต ได้แก่ ยูเนียน อินเตอร์เซกชัน คอมพลีเมนต์ ผลต่างระหว่างเซต
- การแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเซต
บทที่ 2 ตรรกศาสตร์เบื้องต้น
- ประพจน์ ค่าความจริงของประพจน์
- ตัวเชื่อมของประพจน์ ได้แก่ หรือ และ ถ้า... แล้ว... ก็ต่อเมื่อ นิเสธของประพจน์
- การหาค่าความจริงของประพจน์ที่มีตัวเชื่อม
บทที่ 3 หลักการนับเบื้องต้น
- หลักการบวก หลักการคูณ แฟกทอเรียล
- การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้น กรณีที่สิ่งของแตกต่างกันทั้งหมด
- การจัดหมู่ ในกรณีที่สิ่งของแตกต่างกันทั้งหมด
บทที่ 4 ความน่าจะเป็น
- การทดลองสุ่ม
- ปริภูมิตัวอย่าง เหตุการณ์
- ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ สมบัติของความน่าจะเป็น
คณิตศาสตร์เพิ่มเติม ม.4 เทอม 1
บทที่ 1 เซต
- เซต การเขียนเซต
- การเท่ากันของเซต
- การเป็นสับเซต และพาวเวอร์เซต
- แผนภาพเวนน์
- การดำเนินการของเซต ได้แก่ ยูเนียน อินเตอร์เซกชัน คอมพลีเมนต์ ผลต่างระหว่างเซต
- การแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเซต
บทที่ 2 ตรรกศาสตร์เบื้องต้น
- ประพจน์ ค่าความจริงของประพจน์
- ตัวเชื่อมของประพจน์
- การหาค่าความจริงของประพจน์ที่มีตัวเชื่อม การสร้างตารางค่าความจริง
- รูปแบบประพจน์ที่สมมูลกัน
- สัจนิรันดร์
- การอ้างเหตุผล
- ประโยคเปิด ตัวบ่งปริมาณ ประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ
- ค่าความจริงของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณตัวเดียว
- นิเสธและความสมมูลของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ
บทที่ 3 จำนวนจริง
- จำนวนจริง ระบบจำนวนจริง สมบัติของจำนวนจริง
- พหุนาม การแยกตัวประกอบของพหุนาม สมการพหุนามตัวแปรเดียว
- เศษส่วนของพหุนาม สมการเศษส่วนของพหุนาม
- การไม่เท่ากันของจำนวนจริง อสมการพหุนามตัวแปรเดียว
- ค่าสัมบูรณ์ สมบัติของค่าสัมบูรณ์ สมการและอสมการค่าสัมบูรณ์ของพหุนาม
คณิตศาสตร์เพิ่มเติม ม.4 เทอม 2
บทที่ 1 ฟังก์ชัน
- คู่อันดับ ผลคูณคาร์ทีเชียน
- ความสัมพันธ์ กราฟของความสัมพันธ์
- โดเมนและเรนจ์ของความสัมพันธ์
- ตัวผกผันของความสัมพันธ์
- ฟังก์ชัน
- ฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่ง ฟังก์ชันทั่วถึง ฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งและทั่วถึง
- โดเมนและเรนจ์ของฟังก์ชัน
- ฟังก์ชันเพิ่ม ฟังก์ชันลด กราฟของฟังก์ชัน
- การดำเนินการของฟังก์ชัน ได้แก่ การบวก การลบ การคูณ การหารฟังก์ชัน
- ฟังก์ชันประกอบ
- ฟังก์ชันผกผัน
บทที่ 2 เอกซ์โพเนนเชียล & ลอการิทึม
- เลขยกกำลัง สมบัติของเลขยกกำลัง
- รากที่สอง รากที่ เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ
- ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล สมการและอสมการเอกซ์โพเนนเชียล
- ฟังก์ชันลอการิทึม สมบัติของฟังก์ชันลอการิทึม สมการและอสมการลอการิทึม
บทที่ 3 เรขาคณิตวิเคราะห์ & ภาคตัดกรวย
ส่วนที่ 1 เรขาคณิตวิเคราะห์
- ระยะห่างระหว่างจุดสองจุด
- จุดกึ่งกลางของส่วนของเส้นตรง
- เส้นตรง ความชันของเส้นตรง การขนานกันของเส้นตรง การตั้งฉากของเส้นตรง
- ระยะห่างระหว่างจุดกับเส้นตรง
- ระยะห่างระหว่างเส้นตรงสองเส้นที่ขนานกัน
ส่วนที่ 2 ภาคตัดกรวย
- วงกลม
- พาราโบลา
- วงรี
- ไฮเพอร์โบลา
คณิตศาสตร์ ม.5

คณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.5
บทที่ 1 เลขยกกำลัง
- เลขยกกำลัง สมบัติของเลขยกกำลัง
- รากที่สอง รากที่
- เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ
- การคิดดอกเบี้ยทบต้น
บทที่ 2 ฟังก์ชัน
- ฟังก์ชัน โดเมนและเรนจ์ของฟังก์ชัน กราฟของฟังก์ชัน
- ฟังก์ชันเชิงเส้น ฟังก์ชันคงตัว
- ฟังก์ชันกำลังสอง พาราโบลา
- ฟังก์ชันขั้นบันได ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล
บทที่ 3 ลำดับและอนุกรม
- ลำดับ พจน์ทั่วไปของลำดับ ลำดับจำกัด ลำดับอนันต์
- ลำดับเลขคณิต ลำดับเรขาคณิต
- อนุกรม ผลบวก พจน์แรก อนุกรมจำกัด อนุกรมอนันต์
- อนุกรมเลขคณิต อนุกรมเรขาคณิต
- ดอกเบี้ยทบต้น มูลค่าของเงินตามเวลา ค่างวด
คณิตศาสตร์เพิ่มเติม ม.5 เทอม 1
บทที่ 1 ฟังก์ชันตรีโกณมิติ
- วงกลมหนึ่งหน่วย การกำหนดทิศทาง
- ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ได้แก่ ไซน์ โคไซน์ แทนเจนต์ โคเซแคนต์ เซแคนต์ โคแทนเจนต์
- กราฟของฟังก์ชันตรีโกณมิติ คาบ แอมพลิจูด
- เอกลักษณ์และสมการตรีโกณมิติ
- ตัวผกผันของฟังก์ชันตรีโกณมิติผกผัน
- กฎของไซน์ กฎของโคไซน์
บทที่ 2 เมทริกซ์
- เมทริกซ์ ขนาด การเท่ากันของเมทริกซ์
- การดำเนินการบนเมทริกซ์ ได้แก่ การบวก การลบ การคูณเมทริกซ์ด้วยค่าคงตัว การคูณเมทริกซ์ด้วยเมทริกซ์
- เมทริกซ์สลับเปลี่ยน
- เมทริกซ์จัตุรัส เมทริกซ์เอกลักษณ์
- ดีเทอร์มิแนนต์ สมบัติของดีเทอร์มิแนนต์
- เมทริกซ์ผกผัน
- สมการเชิงเส้น ระบบสมการเชิงเส้น
- การดำเนินการตามแถวขั้นมูลฐาน
บทที่ 3 เวกเตอร์
- ปริมาณสเกลาร์ ปริมาณเวกเตอร์
- การขนานกันของเวกเตอร์
- การเท่ากันของเวกเตอร์
- นิเสธของเวกเตอร์
- การดำเนินการของเวกเตอร์ ได้แก่ การบวก การลบ การคูณเวกเตอร์ด้วยสเกลาร์
- ระบบพิกัดฉากสามมิติ
- ระยะทางระหว่างจุดบนปริภูมิสามมิติ
- เวกเตอร์หนึ่งหน่วย เวกเตอร์ศูนย์
- ผลคูณเชิงสเกลาร์
- ผลคูณเชิงเวกเตอร์
คณิตศาสตร์เพิ่มเติม ม.5 เทอม 2
บทที่ 1 จำนวนเชิงซ้อน
- จำนวนเชิงซ้อน และสมบัติของจำนวนเชิงซ้อน
- สังยุคของจำนวนเชิงซ้อน
- ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเชิงซ้อน
- กราฟของจำนวนเชิงซ้อน
- จำนวนเชิงซ้อนในรูปเชิงขั้ว
- รากที่ ของจำนวนเชิงซ้อน เมื่อ เป็นจำนวนนับที่มากกว่า
- สมการพหุนามตัวแปรเดียว
บทที่ 2 หลักการนับเบื้องต้น
- หลักการบวก หลักการคูณ แฟกทอเรียล
- การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้น กรณีที่สิ่งของแตกต่างกันทั้งหมด และกรณีที่สิ่งของที่ไม่แตกต่างกันทั้งหมด
- การเรียงสับเปลี่ยนเชิงวงกลม กรณีที่สิ่งของแตกต่างกันทั้งหมด
- การจัดหมู่ ในกรณีที่สิ่งของแตกต่างกันทั้งหมด
- ทฤษฎีบททวินาม
บทที่ 3 ความน่าจะเป็น
- การทดลองสุ่ม
- ปริภูมิตัวอย่าง เหตุการณ์
- ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ สมบัติของความน่าจะเป็น
คณิตศาสตร์ ม.6

คณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.6
บทที่ 1 สถิติศาสตร์ & ข้อมูล
- สถิติศาสตร์
- ประชากร กลุ่มตัวอย่าง
- ตัวแปร ข้อมูล
- พารามิเตอร์ ค่าสถิติ
- ประเภทของข้อมูล
- สถิติศาสตร์เชิงพรรณนา สถิติศาสตร์เชิงอนุมาน
บทที่ 2 ข้อมูลเชิงคุณภาพ
- ความถี่ ฐานนิยม การแจกแจงความถี่
- ตารางความถี่ ความถี่สัมพัทธ์
- แผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิวงกลม แผนภูมิแท่ง
บทที่ 3 ข้อมูลเชิงปริมาณ
- ตารางความถี่ อันตภาคชั้น
- แผนภูมิจุด แผนภูมิลำต้นและใบ แผนภูมิกล่อง แผนภาพการกระจาย
- ค่ากลางของข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเฉลี่ยเลขคณิตแบบถ่วงน้ำหนัก มัธยฐาน ฐานนิยม
- ค่าวัดการกระจาย ได้แก่ พิสัย พิสัยระหว่างควอร์ไทล์ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวน สัมประสิทธิ์การแปรผัน
- ค่าวัดตำแหน่งที่ของข้อมูล ได้แก่ ควอร์ไทล์ เปอร์เซ็นไทล์
คณิตศาสตร์เพิ่มเติม ม.6 เทอม 1
บทที่ 1 ลำดับและอนุกรม
- ลำดับ พจน์ทั่วไปของลำดับ ลำดับจำกัด ลำดับอนันต์
- ลำดับเลขคณิต ลำดับเรขาคณิต ลำดับฮาร์มอนิก
- ลิมิตของลำดับอนันต์
- อนุกรม ผลบวก พจน์แรก อนุกรมจำกัด
- อนุกรมเลขคณิต อนุกรมเรขาคณิต
- อนุกรมอนันต์ การลู่เข้าของอนุกรมอนันต์
- สัญลักษณ์แทนการบวก
- ดอกเบี้ยทบต้น มูลค่าของเงินตามเวลา ค่างวด
บทที่ 2 แคลคูลัส
- ลิมิตของฟังก์ชัน
- ฟังก์ชันต่อเนื่อง
- อัตราการเปลี่ยนแปลง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน ความชันของเส้นโค้ง
- อนุพันธ์อันดับสูง
- การประยุกต์ของอนุพันธ์
- ปริพันธ์ของฟังก์ชัน พื้นที่ปิดล้อมด้วยเส้นโค้ง
คณิตศาสตร์เพิ่มเติม ม.6 เทอม 2
บทที่ 1 – 3
เหมือนกับ คณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.6 ทั้งหมด
บทที่ 4 การแจกแจงความน่าจะเป็น
- ตัวแปรสุ่ม ชนิดของตัวแปรสุ่ม
- การแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มไม่ต่อเนื่อง ได้แก่ การแจกแจงเอกรูปไม่ต่อเนื่อง การแจกแจงทวินาม
- การแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มไม่ต่อเนื่อง ได้แก่ การแจกแจงปกติ การแจกแจงปกติมาตรฐาน
- แคลคูลัสเบื้องต้น
สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อ่านถึงตรงนี้แล้วอยากทำความเข้าใจเนื้อหาในแต่ละบทของคณิตศาสตร์ ม.ปลาย ว่ามีเนื้อหาเป็นอย่างไร พี่แม็คได้สรุปเนื้อหา แนวคิดสำคัญ เทคนิค พร้อมตัวอย่างประกอบของเนื้อหาแต่ละหัวข้อไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้วนะคั้บ น้อง ๆ สามารถเลือกดูตามหัวข้อข้างล่างนี้ได้เลยนะค้าบบ^^